Wat Cholpratarn Rangsarit
Wat Cholpratarn Rangsarit things to do, attractions, restaurants, events info and trip planning
Plan your stay
Posts
พระพรหมังคลาจารย์ หรือ หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ กำเนิดที่ ต.คูหาสวรรค์ อ.เมือง จ.พัทลุง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2454 เดิมมีนามว่า ปั่น เสน่ห์เจริญ หลังใช้ชีวิตฆราวาสจนมีอายุได้ 18 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดอุปนันทนาราม จ.ระนอง โดยมีพระระณังคมุนีเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดนางลาด อ.เมือง จ.พัทลุง โดยมีพระจรูญกรณีย์เป็นอุปัชฌาย์เมื่อปี พ.ศ.2474 หลังจากอุปสมบทได้ไม่นาน ได้เดินทางไปศึกษาหาหลักธรรมในบวรพุทธศาสนาหลายจังหวัดที่มีสำนักเรียนธรรมะ เช่น นครศรีธรรมราช สงขลา และ กทม. จนท่านสามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรีเป็นที่ 1 ของสังฆมณฑลภูเก็ต และสามารถสอบได้นักธรรมชั้นโทและเอกในปีถัดมาที่ จ.นครศรีธรรมราช จากนั้นท่านได้เดินทางไปศึกษาต่อด้านภาษาบาลีจนสามารถสอบเปรียญธรรม 4 ประโยค ที่สำนักเรียนวัดสามพระยา กทม. แต่เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ท่านต้องหยุดการศึกษาไว้เพียงเท่านั้น แล้วเดินทางกลับพัทลุงภูมิลำเนาเดิมและได้เริ่มแสดงธรรมในพื้นที่ต่างๆ ของภาคใต้ รวมทั้งเดินทางไปจำพรรษาที่วัดสีตวนารามและวัดปิ่นบังอร รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย ในระหว่างที่จำพรรษาอยู่นี้ก็ได้ศึกษาทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีน เพื่อเป็นพื้นฐานในการเผยแพร่ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อไป ปี พ.ศ.2475 หลวงพ่อมีโอกาสร่วมเดินทางไปพม่า กับพระโลกนาถชาวอิตาลีสหายธรรม ร่วมเดินทางไปประเทศอินเดียและทั่วโลกโดยผ่านทางประเทศพม่าด้วยเท้าเปล่าเพื่อเป็นพุทธบูชา แต่เมื่อเดินทางถึงพม่าก็ต้องเดินทางกลับ ระหว่างปี พ.ศ.2475-2476 หลวงพ่อได้มีโอกาสเดินทางไปเผยแพร่ศาสนาในต่างประเทศหลายประเทศ จนท่านได้ชื่อว่า เป็นพระสงฆ์รูปแรกของไทยที่ได้เดินทางไปประกาศธรรมในภาคพื้นยุโรป ปี พ.ศ.2477 ท่านได้เดินทางไปจำพรรษากับพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ที่สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี และร่วมเป็นสหายธรรมดำเนินการเผยแพร่หลักธรรมที่แท้จริงตามหลักคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในปี พ.ศ.2492 ท่านได้รับอาราธนานิมนต์ให้ไปจำพรรษาที่วัดอุโมงค์ จ.เชียงใหม่ และได้เริ่มแสดงธรรมในทุกวันอาทิตย์และวันพระที่พุทธนิคม จ.เชียงใหม่ พร้อมกันนี้ท่านได้เขียนบทความต่างๆ ลงในหนังสือพิมพ์และเขียนหนังสือธรรมะขึ้นหลายเล่ม นอกจากนี้ท่านได้เดินทางไปประกาศธรรมแก่ชาวบ้าน ชาวเขาโดยใช้รถติดเครื่องขยายเสียง จนชื่อเสียงดังกระฉ่อนไปทั่ว จ.เชียงใหม่ ในนาม "ภิกขุปัญญานันทะ" ในยุคนี้เองที่ท่านได้ก่อตั้งมูลนิธิ "เมตตาศึกษา" ที่วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ และบำเพ็ญศีล กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมอีกมากมาย ในปี พ.ศ.2502 ม.ล.ชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประทาน ในสมัยนั้น ระหว่างที่ไปเยือนเชียงใหม่มีความประทับใจ ในลีลาการสอนธรรมะแนวใหม่ของท่าน จึงเกิดความศรัทธาปสาทะในท่าน และในขณะนั้นกรมชลประทานได้สร้างวัดใหม่ขึ้น ชื่อ "วัดชลประทานรังสฤษฎ์" จึงได้อาราธนาท่านไปเป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ พ.ศ.2503 จนถึงปัจจุบัน ท่านได้เผยแพร่ศาสนา โดยวิธีที่ท่านได้เริ่มปฏิวัติรูปแบบการเทศนาแบบดั้งเดิมที่นั่งเทศนาบนธรรมาสน์ถือใบลาน มาเป็นการยืนพูดปาฐกถาธรรมแบบพูดปากเปล่าต่อสาธารณชน พร้อมทั้งยกตัวอย่างเหตุผลร่วมสมัย ทันต่อเหตุการณ์ เป็นการดึงดูดประชาชนให้หันเข้าหาธรรมะได้เป็นเป็นอย่างมาก ซึ่งในช่วงแรกๆ ได้รับการต่อต้านอยู่บ้าง แต่ต่อมาภายหลังการปาฐกถาธรรมแบบนี้กลับเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปจนถึงบัดนี้ เมื่อพุทธศาสนิกชนทราบข่าวว่า ท่านจะไปปาฐกถาธรรมที่ใดก็จะติดตามไปฟังกันเป็นจำนวนมาก จนในที่สุดท่านได้รับอาราธนาให้เป็นองค์แสดงปาฐกถาธรรมในสถานที่ต่างๆ และเทศนาออกอากาศทั้งทางสถานีวิทยุกระจายเสียง และสถานีวิทยุโทรทัศน์ต่างๆด้วย นอกจากนี้ ท่านยังได้รับอาราธนาไปแสดงธรรมในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น และยังได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมและกล่าวคำปราศรัยในการประชุมองค์กรศาสนาของโลกเป็นประจำอีกด้วย โดยที่ท่านเป็นผู้มีชื่อเสียงของประเทศไทย ได้สร้างงานไว้มากมายทั้งด้านศาสนาสังคมสงเคราะห์ตลอดจนงานด้านวิชาการ และเป็นประธานในการจัดกิจกรรมทั้งที่เป็นประโยชน์แก่ศาสนาและสังคม เช่น สนับสนุนโครงการเผยแผ่ศาสนาในต่างแดน เป็นประธานจัดหาทุนสร้างโรงพยาบาล กรมชลประทาน 80 ปี (ปัญญานันทะ) และเป็นประธานในการดำเนินการจัดหาทุนสร้างวัดปัญญานันทาราม แม้ว่าคำสอนของท่านจะเป็นคำสอนที่ฟังง่ายต่อการเข้าใจ แต่ลึกซึ้งด้วยหลักธรรมและอุดมการณ์อันหนักแน่น ท่านเป็นพระสงฆ์รูปแรกที่กล้าในการปฏิรูปพิธีกรรมทางศาสนา ของชาวไทยที่ประกอบพิธีกรรมหรูหรา ฟุ่มเฟือย โดยเปลี่ยนเป็นประหยัด มีประโยชน์และเรียบง่าย ดังนั้น ท่านจึงได้รับการขนานนามว่า "ผู้ปฏิรูปพิธีกรรมของชาวพุทธไทย" หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ เข้ารักษาอาการอาพาธ ที่ตึกอัษฎางค์ โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันที่ 1/10/2550 และมรณภาพ เมื่อ 9 นาฬิกา วันที่ 10/10/2550 สิริรวมอายุได้ 97 ปี
Suphakorn Panyangam
00
A very modern temple I should say, toilets are very clean and spacious and we'll ventilated, the carpark is very adequate and convenient it has 5 floors each floor can accommodate at least 15 cars or more depending on the floor, while it's very solemn and peaceful the temple is in continuous development and under construction/reconsctruction, the staff is very prompt, appropriately dressed and courteous, the monks are very brief and very modern with modern ideas intertwined with the roots of Thai Buddhism and very punctual. This is a great temple for my opinion but the best way to experience is to go there yourself and 'make a merit' ทำบุญ
Enrico Aldaya
00
Beautiful Serene Temple immersing into nature. The founder of this temple truly believed in living with no attachment. So the temple style is quite unique with not a lot of gold decoration like the usual Thai temple. Big wide open space filled with green space to meditate. Free meals at the cafeteria three times a day as an offering for anyone who would like to be fed. If you are looking for a place to find your inner peace, this is a great temple to enjoy your time and meditate.
Patty PK
00
โครงการกราบพระนอน 99 วัด ปี 2566 วัดที่ 16 วัดชลประทานรังสฤษดิ์ พระอารามหลวง บางตลาด ปากเกร็ด นนทบุรี พระนอนสีทองอร่าม ยาว 2.5 เมตร ประดิษฐานบนแท่นคล้ายจำลองอาคาร มีเสารับน้ำหนัก และมีแท่นประกอบองค์พระนอนแบบเดียวกับพระนอนที่กุสินาราอีกชั้นหนึ่ง ก่ออิฐเป็นรูปกลมทำเป็นฉากหลัง องค์พระนอนงามด้วยพุทธลักษณะ พระเศียรหนุนพระเขนยที่ทำคล้ายถุง นิ้วพระบาทยาวไม่เสมอกันดูเหมือนจริง เป็นพระนอนที่ประดิษฐานอยู่สูงจากพื้นดินมากที่สุดเท่าที่เคยกราบพระนอนมา เนื่องจากประดิษฐานบนชั้น 5 ของอาคาร ซึ่งจัดสร้างไว้ในห้องปรับอากาศอย่างดี เงียบสงบ แสงรำไร ให้บรรยากาศแห่งศรัทธาในองค์พระนอนได้ดี วัดชลประทานรังสฤษดิ์ เป็นพระอารามหลวง ที่มีการบริหารจัดการอย่างดี เข้ามาที่วัดแล้วก็ขับรถไปจอดบนอาคารจอดรถแล้วค่อยเดินชมวัด เริ่มจากพระรูปของท่านปัญญานันทภิกขุ ด้านหน้าพระอุโบสถ ถัดจากพระอุโบสถเป็นอาคารสถาบันปัญญาวิชชาลัยที่ชั้นล่างเป็นห้องโถงมีพระประธานองค์สีขาวปางสมาธิ เจาะข่องผนังสีแดงด้านเหมือนเป็นชั้นเก็บพระไตรปิฎก แล้วขึ้นลิฟท์ไปชั้น 5 เป็นชั้นที่มีพระเจดีย์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุจากนานาประเทศ และเป็นที่ประดิษฐานพระนอนด้วย แล้วเดินกลับลงมาทีละชั้น จะผ่านพื้นที่การเรียนรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาหลากหลายรูปแบบ แล้วไปดูสุคติสถานพื้นที่ที่เกี่ยวกับงานฌาปนกิจ มีศูนย์หนังสือธรรมะ และเข้าสู่เขตธรรมานุภาพ มีลานหินโค้งที่เป็นสวนร่มรื่น เป็นพื้นที่ปฏิบัติธรรมในโอกาสต่างๆ ของวัด มีปริศนาธรรมมากมายให้เรียนรู้กัน วัดต่อไป วัดกลางเกร็ด บางตลาด ปากเกร็ด นนทบุรี วัดก่อนหน้า วัดสิทธิสังฆาราม (หนองคราม) ปราณบุรี ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์
Danai Winairat
00
"วัดชลประทานรังสฤษดิ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 1 บ้านปากด่าน ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยมีพระพรหมมังคลาจารย์ หรือหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก" อาคาร สุคติสถาน เป็นนวัตกรรมการณาปนกิจวิถีใหม่ เป็นมิตรกับสิ่งแวเล้อม มีองค์ประกอบเป็นศาลาคู่เมรุจำนวน 4 ชั้น ชั้นที่ 1 - 3 มีศาลาบำเพ็ญกุศลชั้นละ 3 ศาลา ชั้นที่ 4 มีซาลาบำเพ็ญกุศล 1 ศาลา รวม 10 ศาลา เมรุและเตาเผา 2 เตาเผา แบบไร้มลพิษเป็นมิตรกับโลกอยู่บนชั้น 4 อาคารรับรองอยู่ข้างหน้าขนาด 4 ชั้น อีกหนึ่งหลัง มีลิฟต์ 3 ตัว ศาลาต้อนรับห้องสุขา 46 ห้อง สุคติสถานมีชื่อเรียกดังนี้ 1.สุคติสถาน อนิจจตา 2.สุคติสถาน ทุกขตา 3.สุคติสถาน อนัตตตา 4.สุคติสถาน ธัมมัฏฐิตตา 5.สุคติสถาน ธัมมนิยามตา 6.สุคติสถาน อิทัปปัจจยตา 7.สุคติสถาน สุญญตา 8.สุคติสถาน ตถยา 9.สุคติสถาน อตัมมยตา 10.สุคติสถาน กัลยาณมิตตตา 11.สุคติสถาน อัมพรไพศาล 12.สุคติสถาน วีระภุชงค์ 13.สุคติสถาน ธนไพศาล 14.สุคติสถาน สนิทวงศ์ 15.สุคติสถาน จินดาสงวน 16.สุคติสถาน ปาจารย์ 17.สุคติสถาน โกวัฒนะ 18.สุคติสถาน พิสิษฐ์กุล 19.สุคติสถาน จารุมิลินท ศาลาขรจประศาสน์ รร.พุทธธรรม ลานหินโค้ง พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อปัญญานันทะ หอระฆัง กุฎิสี่เหลี่ยม ศาลา 100 ปี อาคารจอดรถ 1 - 2 อาคารจอดรถจำนวน 6 ชั้น ความสูง 2.20 เมตร
สาโรจน์
00
ไม่ได้มาที่นี่ร่วมสองปี คืนเมื่อวานนี้ เห็นแล้วตะลึงในความงดงามประติมากรรม ทางพุทธศาสนา รู้สึกภาคภูมิใจที่เกิดเป็นชาวพัทลุง มีความผูกพันกับวัดชลประทานรังสฤษฏ์มาก มีท่านเจ้าอาวาสที่เป็นนักพัฒนา หลายๆรูป นโยบายวัด การรณรงค์รักษาความสะอาด และสิ่งแวดล้อม และการกำจัดขยะ ที่ดีมาก อยากให้วัดทั่วกรุงเทพ ทั่วประเทศไทย เอาเป็นแบบอย่างมากๆ วัดที่นี่งานสีดำ ไม่มีพวงหรีดทุกชนิด ไม่มีอาหารกล่องของคาวหวานในงาน (มีโรงทานให้) ไม่มีบุหรี่ มีการเทศนาที่เป็นข้อคิดให้ผู้มาร่วมงานได้สาระร่วม ๙๐ นาที (ดีกว่าไปวัดอื่นๆ ที่เคยไปงานสีดำ มีสวดๆฟังไม่ออกภาษาบาลี พอพักเบรคก็กินๆๆ คุยๆๆ และสวดๆๆ ระหว่างนั่นคนร่วมงานก็คุยกันกันสนุก และเบรคกินๆๆ กรวดน้ำ สาธุ แยกย้าย ไปกินกันต่อและกลับบ้าน) ที่นี่ มีอาคารที่จอดรถยนต์ 5 ชั้น เป็นระเบียบมาก (แต่ทีมออกแบบน่าเสียดาย ทำทางขึ้นทางลงรถ จะคับแคบไปนิด สังเกตมีรอยสีทะลอกของรถตรงฝาผนังตลอดทางทุกชั้น) ฟังว่าวัดกำลังปรับปรุงพัฒนาไปอีก ขอให้พุทธศาสนิกชน และผู้สนใจเชิญร่วมกันบริจาคเพื่อสนับสนุนกิจการของวัดและเพื่อประโยชน์ของทุกคน อนุโมทนาสาธุ
Chokchai Ekataksin
00
Nearby Attractions Of Wat Cholpratarn Rangsarit
Wat Chonprathan Rangsarit Meditation Center

Wat Chonprathan Rangsarit Meditation Center
4.8
(16)
Click for details
Nearby Restaurants Of Wat Cholpratarn Rangsarit
Suki Teenoi Chaengwatthana
Sawasdee Cafe’ de Pakkret
Bar Yang
สุกี้หลินหลิน • เมเจอร์ปากเกร็ด (สุกี้หม่าล่าสายพาน)
AKKEE Thai Delicacies and Tasting Counter
Minnie's Cafe & Restaurant
Paul Steakhouse

Suki Teenoi Chaengwatthana
4.5
(1K)
Click for details

Sawasdee Cafe’ de Pakkret
4.5
(504)
$$
Click for details

Bar Yang
4.8
(285)
Click for details

สุกี้หลินหลิน • เมเจอร์ปากเกร็ด (สุกี้หม่าล่าสายพาน)
4.9
(185)
Click for details
Basic Info
Address
78, 8, ตําบล บางตลาด, Pak Kret District, Nonthaburi 11120, Thailand
Map
Phone
+66 2 583 8845
Call
Website
watcholpratarn.org
Visit
Reviews
Overview
4.7
(2.3K reviews)
Ratings & Description
cultural
outdoor
family friendly
attractions: Wat Chonprathan Rangsarit Meditation Center, restaurants: Suki Teenoi Chaengwatthana, Sawasdee Cafe’ de Pakkret, Bar Yang, สุกี้หลินหลิน • เมเจอร์ปากเกร็ด (สุกี้หม่าล่าสายพาน), AKKEE Thai Delicacies and Tasting Counter, Minnie's Cafe & Restaurant, Paul Steakhouse

- Please manually select your location for better experience